เชื่อกันว่า หมากฮอส ( checkers ) มีกำเนิดมาจากหมากรุก ( chess ) โดยดัดแปลงรูปแบบ และกติกาการเล่นให้ง่ายขึ้น แม้แต่เด็กก็สามารถเรียนรู้และเล่นเป็นได้ในเวลาไม่นาน คำว่า checkers หมายถึงตาหมากรุก เบี้ยจะเดินคล้ายการเดินของควีน ( queen ) ในหมากรุกยุคแรก ๆ ( เหมือนเม็ดใน หมากรุกไทย ) คือเดินทแยงไปด้านหน้าได้ครั้งละ 1 ตา ( ถอยหลังไม่ได้ ) เมื่อเดินไปจนสุดกระดานอีก ด้านหนึ่งจะมีการเปลี่ยนเป็นฮอส และสามารถเดินถอยหลังได้ จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ทำให้ทราบว่า หมากรุกมีกำเนิดทางตอนเหนือของประเทศ อินเดียประมาณ พ.ศ.1113 ส่วนหมากฮอสปรากฎครั้งแรกในบันทึกภาษาสเปน เมื่อ พ.ศ.2090 ก่อน จะแพร่หลายไปสู่ส่วนต่าง ๆของโลก ในยุคกลาง ( middle age) หมากฮอส ถูกรังเกียจว่าเป็น "หมากรุกของผู้หญิง" หรือ chess for lady โดยยังมีหลักฐานปรากฏในภาษาปัจจุบันของชาติต่าง ๆ เช่น Jeudes ในภาษา ฝรั่งเศส Damenspiel ในภาษาเยอรมัน และ Giuoco delle dame ในภาษาอิตาลี เป็นต้น กติกา หมากฮอสท้องถิ่นแต่ละประเทศ จะมีส่วนปลีกย่อยต่างกันออกไป เช่น ในสเปนและไทย ฮอสสามารถ เดินได้ยาวเหมือนบิชอพ(Bishop)ของหมากรุกสากล ในอิตาลี เบี้ยตัวเดียวจะกินฮอสไม่ได้ และในโปแลนด์ ใช้เล่นบนตาราง 10 x 10 ช่อง มีเบี้ยฝ่ายละ 20 ตัว เป็นต้นหมากฮอสสากล
เป็นหมากฮอสที่เป็นที่ยอมรับและใช้แข่งขันทั้งระดับประเทศและระหว่างประเทศ ผู้เล่นทั้ง 2 ฝ่าย จะมีเบี้ยข้างละ 12 ตัว ฝ่ายดำเดินก่อนเมื่อเปลี่ยนเป็นฮอส( Checkers King )อีกฝ่ายหนึ่งจะ สวมมงกุฎให้โดยใช้เบี้ยสีเดียวกันวางซ้อนลงไปอีก 1 ตัว ฮอสจะเดินหน้าหรือถอยหลังก็ได้ครั้งละ1ตา การเล่นหมากฮอสสากลในปัจจุปัน ได้ถูกค้นคว้าแง่มุมการเดินต่าง ๆ จนเกือบหมดสิ้น ดังนั้น ถ้าไห้เลือก เดินอย่างอิสระ นักเล่นที่เก่งสามารถเดินเสมอกี่กระดานก็ได้เท่าที่ต้องการเล่น ยกเว้นแต่จะเสี่ยงเดินเพื่อ เอาชนะ ในการแข่งขันจึงเต็มไปด้วยการเสมอ ตัวอย่างเช่นการแข่งขันชิงแชมป์ระหว่า Anderson กับ James Wyllie ปรากฏว่าเสมกกันถึง 54 กระดาน หมากฮอสจึงได้ชื่อว่าเป็นกีฬาแห่งการเสมอกัน ภายหลังจึงมีการใช้กติกา 2 ก้าวบังคับ ( 47 วิธี ) และ 3 ก้าวบังคับ ( 137 วิธี ) สำหรับการเปิดหมากซึ่งเราได้ดัดแปลงนำมาใช้ การแข่งขันที่สำคัญของกีฬาหมากฮอส เป็นการแข่งประเภททีมระหว่างประเทศ เริ่มมีครั้งแรกปี พ.ศ. 2427 ระหว่างอังกฤษกับสก๊อตแลนด์ ในปี พ.ศ.2448 อังกฤษส่งทีมข้ามทวีปไปแข่งขันกับสหรัฐอเมริกา จนถึงปัจจุบันนี้ก็ยังมีการจัดการแข่งขันระหว่างประเทศอยู่ แม้จะไม่กว้างขวางและได้รับนิยมเท่าหมากรุกก็ตามหมากฮอสไทย
ดัดแปลงมาจากหมากฮอสสากล ความแตกต่างก็คือฮอสสามารถเดินได้ยาวเหมือนบิชอพ ( Bishop ) และลดเบี้ยเหลือฝ่ายละ 8 ตัว การแปรรูปมีน้อยกว่า หากค้นคว้าและฝึกจนเชี่ยวชาญแล้ว จะแพ้ไม่เป็นเลย เมื่อหมากฮอสไทยพัฒนาถึงจุดหนึ่งแล้ว ก็คงได้ชื่อว่าเป็นกีฬาแห่งการเสมอกัน การใช้กติกา 3 ก้าวบังคับไม่อาจช่วยได้มากนัก และดูไม่สมเหตุสมผลสำหรับกีฬาที่ต้องการความเป็นอิสระ ในการคิดและตัดสินใจ ดังนั้น รูปแบบและกติกาการเล่นหมากฮอสไทย คงจะมีการเปลี่ยนแปลงในอนาคต เพื่อให้คงเป็นกีฬาแห่งการสร้างสรรค์ และให้ความเพลิดเพลินต่อไป(ดูข้อมูลเพิ่มเติม โปรดคลิกที่นี่)้http://wwwrassaryn.blogspot.com
เป็นหมากฮอสที่เป็นที่ยอมรับและใช้แข่งขันทั้งระดับประเทศและระหว่างประเทศ ผู้เล่นทั้ง 2 ฝ่าย จะมีเบี้ยข้างละ 12 ตัว ฝ่ายดำเดินก่อนเมื่อเปลี่ยนเป็นฮอส( Checkers King )อีกฝ่ายหนึ่งจะ สวมมงกุฎให้โดยใช้เบี้ยสีเดียวกันวางซ้อนลงไปอีก 1 ตัว ฮอสจะเดินหน้าหรือถอยหลังก็ได้ครั้งละ1ตา การเล่นหมากฮอสสากลในปัจจุปัน ได้ถูกค้นคว้าแง่มุมการเดินต่าง ๆ จนเกือบหมดสิ้น ดังนั้น ถ้าไห้เลือก เดินอย่างอิสระ นักเล่นที่เก่งสามารถเดินเสมอกี่กระดานก็ได้เท่าที่ต้องการเล่น ยกเว้นแต่จะเสี่ยงเดินเพื่อ เอาชนะ ในการแข่งขันจึงเต็มไปด้วยการเสมอ ตัวอย่างเช่นการแข่งขันชิงแชมป์ระหว่า Anderson กับ James Wyllie ปรากฏว่าเสมกกันถึง 54 กระดาน หมากฮอสจึงได้ชื่อว่าเป็นกีฬาแห่งการเสมอกัน ภายหลังจึงมีการใช้กติกา 2 ก้าวบังคับ ( 47 วิธี ) และ 3 ก้าวบังคับ ( 137 วิธี ) สำหรับการเปิดหมากซึ่งเราได้ดัดแปลงนำมาใช้ การแข่งขันที่สำคัญของกีฬาหมากฮอส เป็นการแข่งประเภททีมระหว่างประเทศ เริ่มมีครั้งแรกปี พ.ศ. 2427 ระหว่างอังกฤษกับสก๊อตแลนด์ ในปี พ.ศ.2448 อังกฤษส่งทีมข้ามทวีปไปแข่งขันกับสหรัฐอเมริกา จนถึงปัจจุบันนี้ก็ยังมีการจัดการแข่งขันระหว่างประเทศอยู่ แม้จะไม่กว้างขวางและได้รับนิยมเท่าหมากรุกก็ตามหมากฮอสไทย
ดัดแปลงมาจากหมากฮอสสากล ความแตกต่างก็คือฮอสสามารถเดินได้ยาวเหมือนบิชอพ ( Bishop ) และลดเบี้ยเหลือฝ่ายละ 8 ตัว การแปรรูปมีน้อยกว่า หากค้นคว้าและฝึกจนเชี่ยวชาญแล้ว จะแพ้ไม่เป็นเลย เมื่อหมากฮอสไทยพัฒนาถึงจุดหนึ่งแล้ว ก็คงได้ชื่อว่าเป็นกีฬาแห่งการเสมอกัน การใช้กติกา 3 ก้าวบังคับไม่อาจช่วยได้มากนัก และดูไม่สมเหตุสมผลสำหรับกีฬาที่ต้องการความเป็นอิสระ ในการคิดและตัดสินใจ ดังนั้น รูปแบบและกติกาการเล่นหมากฮอสไทย คงจะมีการเปลี่ยนแปลงในอนาคต เพื่อให้คงเป็นกีฬาแห่งการสร้างสรรค์ และให้ความเพลิดเพลินต่อไป(ดูข้อมูลเพิ่มเติม โปรดคลิกที่นี่)้http://wwwrassaryn.blogspot.com
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น